เกี่ยวกับโครงการ CMU KM-Day ประจำปี 2565

    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยกองบริหารงานบุคคล ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ ได้ริเริ่มจัดโครงการ CMU-KM Day “พัฒนางานประจำนำสู่มหาวิทยาลัยแห่งความสุข” ครั้งที่ 1 ขึ้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2559 ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอผลงานจากกระบวนการจัดการความรู้ และการพัฒนาองค์กรแห่งความสุข ของส่วนงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย และได้ดำเนินการจัดโครงการฯ ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

    โครงการดังกล่าวได้ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรสายปฏิบัติการ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงาน การจัดทำองค์ความรู้ การสร้างนวัตกรรม การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการสร้างองค์กรแห่งความสุข มีการเผยแพร่กิจกรรมการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้สร้างและขยายเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานทั้งภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆ เรื่อยมา ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ปรับวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็น “มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรม” และจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาฯ ระยะที่ 13 โดยมีเป้าหมาย การสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม 60,000 ล้านบาท การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับ TOP50 ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก และการเป็นองค์กรรางวัลคุณภาพแห่งชาติ TQC+ (นวัตกรรม) ซึ่งการจะไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ บุคลากรสายสนับสนุนผู้ปฏิบัติงาน จำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะสมรรถนะ และกรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสรรค์สร้างความรู้ พัฒนานวัตกรรม ผลิตผลงานเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่มหาวิทยาลัย ชุมชนและสังคมโดยรอบ โครงการ CMU-KM Day จึงถือเป็นโครงการหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสร้างเวทีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การนำองค์ความรู้ที่ได้มาต่อยอด ปรับปรุงพัฒนา และสร้างนวัตกรรมต่างๆ ให้เกิดขึ้น คณะทำงานโครงการฯ เห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงเห็นสมควรให้มีกิจกรรม CMU-KM Day ครั้งที่ 7 ประจำปี 2565 นี้ขึ้น

วัตถุประสงค์ ของโครงการ

  • 1. เพื่อเป็นเวทีให้ส่วนงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอผลงานกระบวนการจัดการความรู้ การสร้างนวัตกรรมในการปฏิบัติงาน การพัฒนาองค์กรแห่งความสุข/องค์กรสุขภาพและองค์กรคุณธรรม
  • 2. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกิดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงาน
  • 3. เพื่อเผยแพร่กิจกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรม การสร้างองค์กรแห่งความสุข องค์กรสุขภาพ และองค์กรคุณธรรม ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม
  • 4. เพื่อสร้างและขยายเครือข่ายการจัดการความรู้ การสร้างองค์กรแห่งความสุข องค์กรสุขภาพและองค์กรคุณธรรมในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • 1. การส่งผลงานการจัดการความรู้ การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ การสร้างองค์กรแห่งความสุข องค์กรสุขภาพ และองค์กรคุณธรรม จากส่วนงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย เข้าร่วมนำเสนอทั้งในแบบโปสเตอร์ บูธนิทรรศการ
  • 2. การส่งผลงานการจัดการความรู้ การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ การสร้างองค์กรแห่งความสุข องค์กรสุขภาพ และองค์กรคุณธรรม จากสถาบันการศึกษา และสถาบันอื่นๆ ภายนอกมหาวิทยาลัย เข้าร่วมนำเสนอทั้งในแบบโปสเตอร์ บูธนิทรรศการ
  • 3. เวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการความรู้ การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ การสร้างองค์กรแห่งความสุข องค์กรสุขภาพ และองค์กรคุณธรรม จากส่วนงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย
  • 4. บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิดและประสบการณ์การปฏิบัติงาน การจัดการความรู้ การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ การสร้างองค์กรแห่งความสุข องค์กรสุขภาพ และองค์กรคุณธรรม
  • 5. เกิดเครือข่ายและเกิดการขยายเครือข่ายการจัดการความรู้ การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ การสร้างองค์กรแห่งความสุข องค์กรสุขภาพ และองค์กรคุณธรรม
  • 6. เกิดแพลตฟอร์มระบบคลังความรู้เพื่อการปฏิบัติงาน ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “CMU Knowledge base for operations